บทที่ 1 วิวัฒนาการเว็บไซต์และการบริหารจัดการเว็บไซต์

บทที่ 1 วิวัฒนาการเว็บไซต์และการบริหารจัดการเว็บไซต์


วิวัฒนาการเว็บไซต์ 1969 พ.ศ.2512 การพัฒนาเครือข่าย ARPANET
(Advanced Research Projects Agency NETwork)

เว็บไซต์ถูกแบ่งออกเป็นยุคตามวิวัฒนาการของเว็บไซต์ ดังนี้ 
  • Web 1.0 ยุคแห่งการเริ่มต้น
  • Web 2.0 ยุคแห่งการพัฒนาการและการเชื่อมโยง
  • Web 3.0 ยุคแห่งโลกอนาคต
  • Web 4.0

Wed 1.0 ยุคแห่งการเริ่มต้น

Read‐Only เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโตต้อบกันระหว่างเจ้าของเว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
 การตอบโต้ทางเดียว
 ต่อมาจะมีการนำกระดานข่าว webboard มาใช้เป็นแหล่งที่ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ แต่กระดานข่าวยังไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูล อย่างเป็นระบบ
 ไม่มีการสนับสนุนหรือตัวช่วยในการค้นหาขอ้มูล
 ตัวอย่างลักษณะของเวบไซต์ในยุค Web 1.0 เช่น การสร้างเว็บไซต์บน GeoCities



Web 2.0 ยุคแห่งการพัฒนาการและการเชื่อมโยง

 จุดเด่นคือ การที่ผู้ใช้มีส่วนสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้
 ผู้ใช้ยังเป็นผู้ร่วมกำหนดคุณค่าของเนื้อหาหนึ่งๆ ผ่านกระบวนการ เช่น การให้คะแนนเนื้อหา ทำให้สังคมพิจารณาได้ว่าเนื้อหาใดมีคุณภาพควรแก่การเสพย์
 Web 2.0 สามารถมีส่วนเกื้อหนุนเป็นอันมากต่อการสร้างสังคมที่มีการเรียนรู้
 ตัวอย่างพื้นฐานของ Web 2.0 คือ Wikipedia , blog , Feed


Web 3.0 ยุคแห่งโลกอนาคต

 มีการพัฒนาการต่อจากเว็บ 2.0 ความแตกต่าง คือ สร้างความฉลาดเทียมให้กับสิ่งไม่มีชีวิตใช้เป็นเครื่องมือช่วยคาดเดาพฤติกรรม วิเคราะห์ความ ต้องการของมนุษย์ เมื่อได้ข้อมูลนั้นมาระบบจะประมวลผลอย่างมีเหตุผล พร้อมทั้งแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าสร้างสิ่งที่ต้องการให้ผู้ใช้
 เว็บไซต์มีการเชื่อมโยงเนื้อหาสัมพันธ์ที่มีความ สัมพันธ์กันกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ


Web 4.0

 web 4.0 หรือที่เรียกกันว่า “A Symbiotic web” (Ubiquitous Web)
 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ Ubiquity, Identity และ Connection
 คือ web ที่มีทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง การสร้างให้คอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดได้
(Human mind & Machines หรือ Human & Robot coexistence) มีความฉลาดมากขึ้น ในการอ่านทั้งเนื้อหา (text) และรูปภาพ (graphic) และ สามารถตอบสนองด้วยการคำนวณ หรือสามารถตัดสินใจได้ว่าจะ load ข้อมูลใดที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ก่อน และมีรูปแบบการนำมาแสดงที่รวดเร็ว

ความหมายของเว็บมาสเตอร์
  •  เว็บมาสเตอร์ (Webmaster) คือ ผู้ดูแล และกำหนดนโยบายของเว็บ ด้านต่างๆ เช่น การออกแบบเว็บ การบำรุงรักษา และสร้างระบบฐานข้อมูล การรวบรวมรูปถ่าย หรือปรับแต่งภาพ รวมไปถึงการเป็นผู้ดูแลด้านการตลาด บัญชี และการเงิน เป็นต้น

หน้าที่ของเว็บมาสเตอร์
  • เว็บมาสตอร์ (Webmaster) ทำหน้าที่วางแผน ออกแบบส่วนเนื้อหา เว็บไซต์ ปรับปรุงข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้ พัฒนาเทคนิค หรือ รูปแบบของเว็บให้ ทันสมัย รวมถึงบริหารและจัดการข้อมูลให้เป็นระเบียน เข้าถึงง่าย
  • เจ้าหน้าที่เครือข่าย (Network controller) ทำหน้าที่ติดตั้งให้ คอมพิวเตอร์ภายในองค์กรทั้งหมดรู้จักกัน หรือ รู้จักกับเครือข่ายนอกระบบ เช่น  อินเตอร์เน็ต หรือสาขาย่อยของบริษัท เป็นต้น สามารถแบ่งปันทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสื่อเก็บข้อมูลให้ใช้ร่วมกันและการบำรุงรักษาระบบ เช่น การ ย้าย การติดตั้งใหม่ หรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับโปรแกรม เป็นต้น

  • ผู้ดูแลเครื่องบริการ (Server administrator) ทำหน้าที่ทำให้ คอมพิวเตอร์สามารถให้บริการ เช่น บริการ Web, E‐mail, FTP, DHCP, Radius, DNS , Proxy หรือ Webboard เป็นต้น ผู้ดูแลจะสามารถติดตั้ง บำรุงรักษา ใหเครื่องบริการสามารถทำงานได้ ตลอดเวลา รวมไปถึงการตรวจสอบการเข้าถึง หรือ การทำงานที่ไม่ถูกต้องของผู้บุกรุก ซึ่งอาจเกิดจาก hacker หรือ virus เป็นต้น

  • ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบ และนักเขียนโปรแกรม (System analysis and design and Programmer) ทำหน้าที่ ศึกษาปัญหาของผู้ใช้วิเคราะห์ระบบเดิม และ ออกแบบระบบใหม่ไปจนถึง การ พัฒนาโปรแกรมบำรุงรักษาและจัดทำคู่มือ เพราะนักคอมพิวเตอร์ในองค์กร ขนาดเล็กจำนวนมาก ทำงานเพียงคนเดียว แต่ต้องรับผิดชอบทุกงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในองค์กร

  • ผู้ดูแลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Postmaster) ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลของผู้ใช้โดยเน้นในเรื่องของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เช่น การสร้างรหัสผู้ใช้ ดูแลผู้ใช้ที่ใช้งานไม่ถูกตอ้ง รวมถึงการทำให้เครื่องบริการจดหมายทำงาน ได้ตลอดเวลา

  • เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technical support) ทำหน้าที่แก้ปัญหาทาง เทคนิค เช่น คอมพิวเตอร์เสีย หรือปัญหาอื่นที่เกี่ยวขอ้ ง บางองค์กรอาจมีharddisk หรือ mouse สำรองไว้เปลี่ยนใหผู้ใช้ในกรณีมีปัญหา ทำ หน้าที่แก้ปัญหาคอมพิวเตอร์มักมีอุปกรณ์สำรองเก็บไว้เพราะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์มิไดมี้ปัญหาเฉพาะด้านโปรแกรมเพียงอย่างเดียว ถ้ามีปัญหา เช่น เครื่องหยุดทำงาน (Hang) บ่อย หรือโปรแกรมใช้งานไม่ได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่ก็ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมทั้งหมด (Format) ซึ่งเป็นวิธี แก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้มานานและประมวลผลได้ช้า